วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วันอังคาร ที่ 26 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558

เนื้อหา/กิจกรรม

1.ศิลปะจากวัสดุธรรมชาติ


อุปกรณ์ : .ใบไม้ ดอกไม้ ที่นำไปทับด้วยหนังสือจนแห้ง
ชื่อผลงาน : ใต้ท้องทะเล
ประโยชน์ของผลงาน
  1. เพื่อให้เด็กรู้คุณค่าของวัสดุธรรมชาติ
  2. เพื่อให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของใบไม้ดอกไม้เมื่อนำไปทับจนแห้ง
  3. เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์
  4. สามารถนำไปแสดงผลงานจัดนิทรรศการได้
  5. เพื่อฝึกทักษะกล้ามเนื้อมือ
  6. ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
  7. ฝึกสมาธิเด็ก
  8. ต่อยอดสร้างเป็นเรื่องราวจากผลงานได้
  9. ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่มโดยศิลปะแบบร่วมมือ




2.ศิลปะแบบผสม


ชื่อผลงาน : โรงละครสุมหัว
ศิลปะที่นำมาใช้ : 
  1. การหยดสี
  2. การเป่าสี
  3. การสลัดสี
  4. การตัดกระดาษ
  5. การสาน
  6. การฉีกปะ
  7. ศิลปะสีชอร์ก
  8. การพับ
  9. การม้วน
  10. การพับและต่อเติม

 ประโยชน์ของผลงาน

  1. ฝึกกล้ามเนื้อมือ
  2. ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
  3. เพื่อฝึกมาความคิดสร้างสรรค์
  4. เพื่อให้เห็นความหลากหลายของงานศิลปะ
  5. ฝึกการเลือกและใช้อุปกรณ์ที่หลากหลาย
  6. สามารถนำไปจัดกับหน่วยการเรียนรู้ต่างๆได้
  7. สามารถทำเป็นโรงละครเล็กได้
  8. ฝึกการเรียนศิลปะที่หลากหลายในผลงานหนึ่งชิ้น
  9. ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม
  10. ส่งสริมด้านมิติสัมพันธ์


3.Paper Mache


อุปกรณ์
  1. กระดาษทิชชู
  2. กาว
  3. สีผสมอาหาร
  4. น้ำสะอาด
  5. กระดาษ 100 ปอนด์
  6. ไม้จิ้มฟัน
วิธีการเตรียม
  1. ปั่นกระดาษทิชชูให้ละเอียด
  2. นำกระดาษที่ปั่นสร็จแล้วมาผสมกับน้ำเปล่าและสีผสมอาหาร ผสมให้เข้ากัน
  3. เติมกาวลงไปผสมให้เข้ากันจนพอดี
วิธีการทำ Paper MaChe
  1. ร่างรูปภาพลงบนกระดาษ
  2. นำกระดาษที่เตรียมมาเกลี่ยให้ทั่วภาพโดยใช้ไม้จิ้มฟันเกลี่ย 

ประโยชน์ของผลงาน
  1. เพื่อฝึกสมาธิ
  2. ฝึกกการใช้กล้ามเนื้อมือ
  3. ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
  4. ฝึกการกะระยะ
  5. ฝึกทักษะการทำ Paper Mache
  6. สามารถให้เด็กร่วมมือกันทำผลงานร่วมกัน
  7. บูรณาการกับหน่วยการเรียนรู้ได้
  8. นำไปจัดแสดงผลงานของเด็ก
  9. ฝึกความอดทน และการรอคอย
การนำความรู้ไปใช้
  1. นำศิลปะจากวัสดุธรรมชาติไปบูรณาการกับหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ
  2. การนำกิจกรรมไปจัดประสบการณ์การสร้างผลงานจากวัสดุธรรมชาติ
  3. นำศิลปะที่หลากหลายไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
  4. การนำโรงละครไปเล่านิทานและเพิ่มเติมตัวละครให้เด็กได้เลือกเล่น
  5. การนำกิจกรรม Paper Mache ไปจัดประสบการณ์ศิลปะแบบร่วมมือ
  6. การนำ Paper Mache ไปใช้เป็นศิลปะเพื่อการบำบัดได้ เพราะ สามารถส่งเสริมการใช้สมาธิและความอดทนของเด็ก
 

การประเมิน

ประเมินตนเอง : จัดเตรียมอุปกรณ์มาพร้อมเพื่อนำมาทำกิจกรรม ชื่นชอบ Paper Mache เพราะส่วนตัวไม่เคยทำเลยและคิดว่าตัวเองคงทำออกมาได้ไม่ดีและไม่ละเอียด พอได้ทำแล้วแรกๆก็ยังเกลี่ยไม่คล่องและยังไม่ละเอียด พอทำได้สักพักก็เริ่มคุ้นมือจนผลงานออกมาอย่างน่าพอใจ และยังได้ใช้สมาธิสูงในการทำ ฝึกความใจเย็น อดทน รอคอยได้ดี ส่วนกิจกรรมกลุ่มทำให้เห็นความหลากหลายของศิลปะ สามารถตอบคำถามตอนเป็นเด็กได้ว่าเราทำผลงานศิลปะเพื่ออะไร รู้ถึงขั้นตอนการวางแผนของครูผู้สอน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนมีวินัยในชั้นเรียน ตั้งใจทำงานกลุ่มและงานเดี่ยวออกมาได้ครบสมบูรณ์ ได้เห็นถึงความร่วมมือของเพื่อน และที่สำคัญ Paper Mache สามารถส่งเสริมการใช้สมาธิของเพื่อนได้ดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้เตียมกิจกรรมที่เด็กสามารถนำไปต่อยอดในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้จริง แต่ละกิจกรรมได้อธิบายและบอกการนำไปใช้เพิ่มเติม อาจารย์ได้นำศิลปะที่หลากหลายมาถ่ายทอด และที่สำคัญอาจารย์ให้ความสำคัญกับทุกผลงานของนักศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น