วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วันอังคาร ที่ 10 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา/กิจกรรม

งานกระดาษ


ฉีกปะ
ชื่อผลงาน : ปลาหมึก Colorfol

ตัดปะ

ผลงานนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยของยานพาหนะ หรือ เรื่องจราจร 

การขยำ
ผลงานไอศกรีมผลไม้ แนวคิด คือ ช่วงนี้เป็นช่วงอากาศร้อนหากเราได้กินไอศรีมเย็นก็สามารถดับร้อนได้

การเจาะร้อย
ชื่อผลงาน นกถลาลม จินตนาการเป็นนกที่กำลังบิน สีชมพูเป็นปีกนก สีเหลื่องเป็นตัวนก ถ้าเปรียบกับชีวิตคน ผลงานนนี้สามารถสื่อความหมายว่า 1 สมอง 2 ปีก 2 เท้า สมองมีไว้คิดไตร่ตรองการกระทำ ปีกหรือมือมีไว้กระทำตามความคิดที่ตั้งไว้ 2เท้ามีไว้ก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อไขว่คว้าเอาโอกาส

การสาน
บอลลูน สังเกตดูดีๆจะเห็นว่าบอลลูนอยู่สูงเกินไป จนทำให้ลูกโป่งมีสายที่สั้นไม่สมดุลกัน หากเปรียบเทียบแล้ว ก็เหมือนกับคนถ้าทำตัวสูงเหนือคนอื่นจนเกินไป อาจทำให้สิ่งรอบข้างนั้นพยุงด้วยความลำบาก หรือ อาจทำให้บอลลูนนั้นตกลงมา

การพับ

การพับรูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกาย สามารถใช้กับหน่วยการเรียนรู้ต่าง หรือทำเป็นหนังสือนิทานได้

การพับพัด
ผลงานแมงกระพุนตัวน้อย

การพับและวาดต่อเติม
ผลงานแม่เป็ดอาบน้ำ

การพับรูปแบบต่างๆ
ผลงานปลาเงิน ปลาทอง 
การม้วน
ผลงานการม้วนพวงมาลัย 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. นำรูปแบบกิจกรรมไปสอนเด็กปฐมวัยหรือนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กพิเศษ
  2. การนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าของวัสดุต่างๆ
  3. กิจกรรมขยำสามารถนำวัสดุอื่นทดแทนได้ เช่น ถุงพลาสติก กระดาษหนังสือพิมพ์
  4. การสร้างสรรค์ผลงานให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ
  5. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์ผลงานด้วยตัวเอง
  6. การนำรูปแบบการสอนของอาจารย์ไปใช้ คือ การสร้างข้อตกลง การแนะนำอุปกรณ์ การอธิบายผลงานที่เราต้องทำวันนี้ และการบอกประโยชน์ของผลงานแต่ละชิ้น
การประเมิน

การประเมินตนเอง : มีวินัยในชั้นเรียน และสนุกสนานกับการทำกิจกรรม มีบางกิจกรรมที่คุ้นเคยมาตั้งแต่เด็ก เช่น การฉีกปะ การตัดปะ การม้วน การพับ การพับพัด และบางกิจกรรมที่เห็นแต่ไม่เคยลงมือทำ เช่น การสาน การร้อยกระดาษ การขยำ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้กระบวนการทำ และสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับเด็กได้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำงานของตนเองด้วยความสนุกสนาน แต่อาจจะมีเสียงบ่นบ้างเล็กน้อยกับจำนวนชิ้นงาน ที่อาจก่อให้เกิดความเมื่อยล้า แต่ทั้งหมดอาจารย์ตั้งใจเตรียมให้ เราจึงตั้งใจ พยายามทำจนสำเร็จ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีมากค่ะ เช่น การแนะนำอุปกรณ์ การจัดรูปแบบการสอนที่เข้าถึงนักศึกษาทุกคน การช่วยเหลือ การอธิบายความรู้เพิ่มเติม สิ่งเหล่านี้นักศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ได้ในการเป็นครู และการใช้ชีวิตเป็นแม่พิมพ์ที่ดีค่ะ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น