วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วันอังคาร ที่ 30 เดือน เมษายน พ.ศ.2558

การจัดนิทรรศการศิลปะสร้างสรรค์


    บรรยากาศที่สับสน วุ่นวาย งงงวย แต่ที่สุดแล้วออกมาสวยแทบสะพรึงกลัวว่านี้คือนิทรรศการงานศิลป์ หรือเอาบุญงานวัด 

   ว่าด้วยเรื่องจับกลีบผ้าตัวข้าพเจ้าขอโบกมืออำลา แต่ด้วยความท้าทายดิฉันจับงานผ้าเป็นอันดับแรกเจ้าข้า ทำอยู่นานสองนานกับแค่จับกลีบผ้าที่บร์อด ทำไปทำมาก็เสร็จพร้อมๆกับ กลุ่มจัดมาลาฝาดหางพลิ้วไสวกลางอากาศ สุดท้ายด้วยฝีมืออันน้อยนิดจึงจำใจต้องโบกมือลาไปช่วยคุณอชิรญาจัดเก้าอี้แล้วปูผ้าแบบ Basic เด็กอนุบาล งานแบบนี้ขอให้บอกเสร็จเร็วทันใจ ไวเหมือนกำลังฝัน ส่วนบรรยากาศทั้งหมดโดยรวมก็จะกลุ่มนางฟ้า แม่สาวแม่บ้านแม่เรือนเขาจัดแจงแถลงไขจนจบสิ้นกระบวนการ

ได้เวลาที่ท่านจะได้ชมนิทรรศการงานวัดแล้ว อุ๊ย!!!!!!!! ศิลปะสร้างสรรค์


เมนูสุดแซ่บของงานนี้.......จัดจ้านทีเดียวเชียว


มุมโปรด มุมประทับใจกับฝีมือ 1ใน 4 ของการจัดมุม


งานดินน้ำมันในกล่องซีดีสวยใสด้วยสีเคลือบ สีสันจากจินตนาการของทุกคน


แฟ้มรวมผลงานศิลปะ (ถ้าโชว์สักแผ่นคงดึงดูดไม่น้อย)


มุมงานกลุ่มสื่อผสม งานจานกระดาษ งานแกนกระดาษทิชชู


ภาพชัดๆกับจินตนาการว่าที่คุณครู



งานปั้นดินก็มาจ้า "อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น"


งานขยำกระดาษแก้วก็สวยแจ๋วไม่แพ้ใครนะคะ


เมนูแนะนำ...สอนศิลป์หรรษา


ขึ้นชื่อว่าครูต้องเรียนรู้ไม่หยุดนิ่ง "เรียนจากสื่อ สักวันเราจะสอนผ่านสื่อ" 


เบิกบาน สวยสด อย่าได้ยอม 1 2 3 Action


หลังจากจัดกันมาก็หลายชั่วโมง ขณะนี้ได้เวลากล่าวเปิดงานและปิดงานในเวลาเดียวกัน


เสร็จสิ้นภารกิจนี้ เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆ

ด้วยรักจากใจหญิง

เนื่องจากวิชาสร้างสรรค์เป็นงานที่ไม่ถนัดตั้งแต่เล็กแต่น้อย แต่พอได้มาเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงทำให้มีความรู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีสมาธิ ความคิด ได้มากยิ่งขึ้น จากหลายๆชิ้นงานชื่นชอบจนอดใจไม่ได้ที่ต้องไปซื้ออุปกรณ์มาทำเล่นเวลาว่างๆ และบางงานสามารถต่อยอดกิจการอันน้อยนิดของดิฉัน เรียนวิชานี้แล้วทำให้ดิฉันมีแนวความคิดอยากสร้างสื่อเยอะๆไว้ไปบริจาคเด็กหรือพื้นที่ที่ขาดแคลน พูดง่ายๆจิตอาสาก็ตามมา เรียนรู้ศิลปะสร้างสรรค์ชีวิตเราก็สร้างสรรค์ทำให้เราอยากเรียน อยากลองทำสิ่งใหม่มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ โดยรวมแล้ววิชานี้ปลุกจิตวิญญาณสุนทรียภาพของดิฉันกลับมาอีกครั้งค่ะ

ว่าด้วยเรื่องของใจ 30 ดวง

เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนและทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สิ่งต่างๆเหล่านี้มาจากพลังของความสามัคคี มีน้ำใจ และช่วยเหลือกัน หากขาดคนใดคนหนึ่งไปงานนี้คงขาดสีสันรสชาติที่จัดจ้านแน่นอน ดิฉันต้องของขอบคุณเพื่อนทุกคนที่รักและดูแลกันจนข้ามฝั่งมาได้

พูดถึงเจ้าพ่อของงานนี้

เป็นเพราะความรักและความปราถนาดีจากดวงจิตครูผู้สอน ที่อบรม ชี้แจง แถลงไข ปลุกเด็กๆจากความฝันสู่ความจริง งานแต่ละครั้ง 3 ชิ้นยังน้อยไป จัดให้เน้นๆ 10 ชิ้น Up รับไว้เถิดหนาเด็กน้อย เจ้าจะบ่นจะว่าก็ช่างประไร เพราะจะบ่นเท่าไหรเจ้าก็ต้องก้มหน้าก้มตาทำ จัดมาแต่ละครั้งเหงื่อตกยางออก เรี่ยวแรงจะเดินกลับก็แทบจะคลานกัน แต่ทุกอย่างที่อาจรย์ได้มอบให้เป็นประสบการณ์ดีๆ สิ่งดีๆที่เราจะต้องนำไปจัดประสบการณ์ให้ว่าที่ลูกศิษย์เราทั้งนั้น ขอบคุณอาจารย์ที่จัดเตรียมอุปกรณ์ จัดเตรียมกิจกรรมมาถ่ายทอดจนทำให้พวกเราทุกคนมีอาวุธไปสู้รบกับศึกครั้งยิ่งใหญ่ รักอาจารย์มากนะคะ ขอบคุณที่ดูแลพวกเราเป็นอย่างดีค่ะ



วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วันอังคาร ที่ 21 เดือน เมษายน พ.ศ.2558


เนื้อหา/กิจกรรม


กิจกรรมการทดลองสอนตามแผนการณ์จัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย

  1. วาดภาพกล้วยอิสระด้วยสีเทียน
  2. วาดภาพกล้วยอิสระด้วยสีน้ำ
  3. การตัดปะ
  4. การขยำกระดาษ (กิจกรรมพิเศษ)
กลุ่มที่ 2 หน่วยปลา
  1. วาดภาพปลาอิสระด้วยสีเทียน
  2. วาดภาพปลาอิสระด้วยสีน้ำ
  3. การปั้นดินน้ำมัน
  4. กิจกรรม Paper Mache (กิจกรรมพิเศษ)
กลุ่มที่ 3 หน่วยนก

  1. วาดภาพนกอิสระด้วยสีเทียน
  2. การตัดปะ
  3. การปั้นดินน้ำมัน
  4. กิจกรรมประดิษฐ์นกน้อย (กิจกรรมพิเศษ)
กลุ่มที่ 4 หน่วยผลไม้
  1. วาดภาพผลไม้อิสระด้วยดินสอสี
  2. การฉีกปะ
  3. การตัดปะ
  4. กิจกรรมประดิษฐ์โมบายจานกระดาษ (กิจกรรมพิเศษ)
หน่วยที่ 5 หน่วยดอกไม้
  1. วาดภาพดอกไม้อิสระด้วยสีน้ำ
  2. วาดภาพปลาดอกไม้ะด้วยสีเทียน
  3. การปั้นดินน้ำมัน
  4. การขยำกระดาษ (กิจกรรมพิเศษ)
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การนำแผนการจัดประสบการณ์มาใช้เป็นแนวทางในการศึกษา
  2. การนำแผนการสอนมาปรับปรุงให้เข้ากับสภาพผู้เรียน
  3. การจัดประการณ์ให้สอดคล้องและบูรณาการกับหน่วยต่างๆ
  4. การจัดประสบการณ์ศิลปะให้หลากหลาย
  5. การจัดเวลาในการทำศิลปะให้เหมาะสม
การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา มีวินัยในชั้นเรียน และมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ทำให้ตนเองได้รู้ถึงข้อบกพร่องเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาต่อไป

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อนำมาทดลองสอน แต่ละกลุ่มสามารถจัดประสบการณ์ออกมาได้ดี แต่อาจมีข้อบกพร่องเล็กน้อย แต่อาจารย์ก็ได้เพิ่มเติมในส่วนนี้ ทำให้ทุกคนมีความรู้มากขึ้น

ประเมินอาจารย์ : อาจารยืเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นแม่พิมพ์ของชาติ คือ การทุ่มเทในการสอน การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ การจัดเตรียมข้อมูลล่วงหน้า ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้และประทับเป็นอย่างมากค่ะ

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วันอังคาร ที่ 7 เดือน เมษายน พ.ศ.2558


เนื้อหา/กิจกรรม


แผนการจัดประการณ์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 หน่วย : ปลาทองแสนสวย

วัตถุประสงค์
1. พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา
2.. เกิดความเพลิดเพลิน ชื่นชมสิ่งสวยงาม
3. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
4. พัฒนาภาษา อธิบายผลงานของตนเองได้
5. สามารถประดิษฐ์กลองปลาทองได้

สาระการเรียนรู้

สาระที่ควรเรียนรู้
1. วาดภาพปลาทองอิสระด้วยสีเทียน
2. ปั้นแป้งโดว์ปลาทอง
3. ฉีกปะภาพปลาทองอิสระ
4. ประดิษฐ์กลองปลาทอง (กิจกรรมพิเศษ)

ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
1. การเขียนภาพและเล่นกับสี
2. การปั้นและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ
ด้านอารมณ์-จิตใจ
3. การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
ด้านสังคม
4. การวางแผน ตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ
5. การมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจและความต้องการของตนเองและผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
6. การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงาน
7. การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อวัสดุ ต่างๆ 

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. จัดโต๊ะทำกิจกรรมออกเป็น 4 กลุ่ม โดยกำหนดให้เป็นโต๊ะวาดภาพอิสระด้วยสีเทียน 1 กลุ่ม โต๊ะฉีกปะภาพอิสระ 1 กลุ่ม โต๊ะปั้นแป้งโดว์ 1 กลุ่ม และโต๊ะประดิษฐ์กลองปลาทอง 1 กลุ่ม (กิจกรรมพิเศษ)
2. แนะนำวัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้เด็กๆ ฟัง
ขั้นสอน
3. อธิบายกิจกรรมพร้อมทั้งสาธิตการทำกิจกรรมกลองปลาทอง โดยตัดลูกโป่งส่วนหัวออก นำลูกโป่งส่วนที่เหลือครอบกระป๋องด้านบนดึงลูกโป่งให้ตรึงพอดี รัดด้วยเทปใส 2-3 รอบ (กันหลุด) ) ติดกระดาษวงกลมเล็กหลายๆชิ้นรอบกระป๋อง (เกล็ดปลา)  เสร็จแล้วตกแต่งให้สวยงามตามจินตนาการ
4. ให้เด็กเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนดให้ ตามความสนใจ เมื่อทำเสร็จแล้ว นำผลงานมาส่งพร้อมบอก อธิบายผลงานให้ครูฟัง แล้วนำผลงานไปเก็บในที่เก็บผลงาน
5. ให้เด็กหมุนเวียนทำกิจกรรมต่างๆ จนครบทุกกิจกรรม
ขั้นสรุป
6. เด็กออกมานำเสนอผลงานที่ทำให้เพื่อนฟัง
7. ช่วยกันเก็บวัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. กระดาษเอ 4
2. สีเทียน
3. แป้งโดว์
4. กระป๋อง
 5.ลูกโป่ง
6. กาว
7. กระดาษสี
8.เทปใส
9. ผ้าคลุมโต๊ะ

การวัดและประเมินผล
1. การใช้กล้ามเนื้อมือและตา
2. ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
3. การอธิบายชื่อผลงาน อธิบายผลงาน
4. การประดิษฐ์กลองปลาทอง

การบูรณาการ
  • วิทยาศาสตร์ การสั่นสะเทือน เสียง พลังงานศักย์ยืดหยุ่น
  • ดนตรี
การนำความรู้ไปใช้
  • การเขียนแผนประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับหลักสูตร
  • การเขียนแผนที่ละเอียดไม่วับซ้อน
  • การเขียนแผนที่ครอบคลุมและส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ครบทุกด้าน
  • การเขียนแผนที่เชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนรู้และมีกิจกรรมที่หลากหลาย
การประเมิน
ประเมินตนเอง : มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแผนประสบการณ์มากขึ้น เมื่อนำหลักสูตรเข้ามาเขียนเชื่อมโยงกันแล้วทำให้แผนนั้นน่าเชื่อถือ มีหลักการ และง่ายต่อการเรียนการสอน 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนส่วนใหญ่มีความเข้ากับเกี่ยวกับการเขียนแผน ส่วนคนไหนที่เขียนตกหล่นก็ได้เพิ่มเติม ปรับปรุงแผนของตนเองให้ดี จากคำแนะนำของอาจารย์และเพื่อนร่วมห้อง ทำให้ทุกคนมีความรู้มากขึ้น

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นผู้ที่มาไขกุญแจการเขียนแผนประสบการณ์ เพราะตลอดเวลาที่เขียนมาแทบทุกคนแล้วจะเขียนไม่สมบูรณ์ ไม่ละเอียดมาก แต่พอได้ลงเขียนแผนกับอาจารย์แล้ว ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจ และง่ายกับการจัดกิจกรรมค่ะ

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วันอังคาร ที่ 31 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา/กิจกรรม
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์

จุดประสงค์ของการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
  1. เพื่อให้ผู้สอนวางแผนล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
  2. เพื่อให้ผู้สอนนำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมประจำวันให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์
  1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  2. วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา ความสัมพันธ์ของมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (จุดหมาย) ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์
  3. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้
  4. กำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์
  • เด็กเป็นผู้กำหนด
  • ผู้สอนและเด็กร่วมกันกำหนด
  • ผู้สอนเป็นผู้กำหนด
กำหนดหัวเรื่องหน่วยการจัดประสบการณ์ ควรมีลักษณะดังนี้
  • เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก
  • ตรงตามความต้องการและความสนใจของเด็ก
  • สอดคล้องกับสภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็ก
ผนวกคุณธรรมและจริยธรรมเข้าไปได้อย่างผสมผสานกลมกลืน
   5.  เขียนแผนการจัดประสบการณ์

ตัวอย่าง   การเขียนแผนการจัดประสบการณ์

ชื่อหน่วย..............................................

สิ่งที่เด็กรู้แล้ว          (ได้จากการสังเกต สนทนา และบันทึก)              
สิ่งที่เด็กต้องการรู้   (ได้จากคำถามที่เด็กถาม) 
สิ่งที่เด็กควรรู้          (ได้จากการศึกษาหลักสูตร)

วัน :                                                              เวลา :
จุดประสงค์ : 
๑.
๒.
๓.
(เป้าหมายพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก ควรอยู่บนพื้นฐานพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน)
สาระการเรียนรู้ : ๑.สาระที่ควรเรียนรู้
                              ๒.ประสบการณ์สำคัญ (กำหนดไว้ในหลักสูตร)

วิธีการดำเนินกิจกรรม :
๑.
๒.
๓.
สื่อ :
การประเมิน : (สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนด)
บันทึกหลังสอน : 

การนำความรู้ไปใช้
  1. การศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ ให้เข้าใจแม่นยำและแตกฉาน
  2. การวิเคราะห์หลักสูตรให้ได้และตรงตามประสบการณ์ที่เราจะเขียนและจัดกิจกรรม
  3. นำรูปแบบการเขียนแผนไปเขียนให้ถูกต้องและสามารถอิงหลักสูตรได้เพื่อให้แผนนั้นมีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ
  4. การศึกษาหลักสูตรเพื่อนำมาเขียนสาระการเรียนรู้ได้ถูกต้องกับประสบการณ์ที่เราจะจัด
  5. นำรูปแบบกิจกรรมที่เขียนไปใช้กับเด็กเพื่อนำมาประเมินและพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา มีวินัยในชั้นเรียน ตั้งใจเรียนในเนื้อหาการเขียนแผนการจัดประสบการณ์จนทำให้ตัวเองรู้ว่าเขียนผิดมาตลอด ซึ่งตรงประสบการณ์สำคัญเราสามารถดึงมาจากหลักสูตรได้เลย แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมาเราคิดเอง อาจเป็นเพราะเราศึกษาหาข้อมูลมาไม่แน่นพอ หรือตลอดเวลาที่เรียนมาไม่เคยมีใครพูดตรงจุดนี้ แต่อย่างไรก็ตามในเมื่อเรารู้รอยรั่วของตนเองแล้ว ดิฉันก็จะพยายามเขียนแผนการสอนให้ถูกต้องและวิเคราะห์หลักสูตรให้ได้ เพื่อนำมาจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่างมีคุณภาพค่ะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนกับเนื้อหาการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เป็นอย่างมาก เพราะว่าจะต้องนำไปใช้จริงกับเด็กๆแล้ว บรรยากาศมีการซักถามข้อสงสัยของแต่ละคนจนทำให้เพื่อนได้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ

ประเมินอาจารย์ : ตลอดเวลาที่เรียนมาถือว่าเป็นครั้งแรกกับการเขียนแผนที่อิงหลักสูตร ขณะการเขียนแผนแล้วเปิดหนังสือไปด้วย และความรู้เพิ่มเติมจากการอธิบายรายละเอียดต่างๆจากอาจารย์ ทำให้นักศึกษารู้และเข้าใจกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ และสามารถนำไปใช้ในการศึกษาขั้นต่อๆไป และที่สำคัญกับการสังเกตการสอน การฝึกสอนค่ะ


วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วันอังคาร ที่ 26 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558

เนื้อหา/กิจกรรม

1.ศิลปะจากวัสดุธรรมชาติ


อุปกรณ์ : .ใบไม้ ดอกไม้ ที่นำไปทับด้วยหนังสือจนแห้ง
ชื่อผลงาน : ใต้ท้องทะเล
ประโยชน์ของผลงาน
  1. เพื่อให้เด็กรู้คุณค่าของวัสดุธรรมชาติ
  2. เพื่อให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของใบไม้ดอกไม้เมื่อนำไปทับจนแห้ง
  3. เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์
  4. สามารถนำไปแสดงผลงานจัดนิทรรศการได้
  5. เพื่อฝึกทักษะกล้ามเนื้อมือ
  6. ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
  7. ฝึกสมาธิเด็ก
  8. ต่อยอดสร้างเป็นเรื่องราวจากผลงานได้
  9. ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่มโดยศิลปะแบบร่วมมือ




2.ศิลปะแบบผสม


ชื่อผลงาน : โรงละครสุมหัว
ศิลปะที่นำมาใช้ : 
  1. การหยดสี
  2. การเป่าสี
  3. การสลัดสี
  4. การตัดกระดาษ
  5. การสาน
  6. การฉีกปะ
  7. ศิลปะสีชอร์ก
  8. การพับ
  9. การม้วน
  10. การพับและต่อเติม

 ประโยชน์ของผลงาน

  1. ฝึกกล้ามเนื้อมือ
  2. ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
  3. เพื่อฝึกมาความคิดสร้างสรรค์
  4. เพื่อให้เห็นความหลากหลายของงานศิลปะ
  5. ฝึกการเลือกและใช้อุปกรณ์ที่หลากหลาย
  6. สามารถนำไปจัดกับหน่วยการเรียนรู้ต่างๆได้
  7. สามารถทำเป็นโรงละครเล็กได้
  8. ฝึกการเรียนศิลปะที่หลากหลายในผลงานหนึ่งชิ้น
  9. ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม
  10. ส่งสริมด้านมิติสัมพันธ์


3.Paper Mache


อุปกรณ์
  1. กระดาษทิชชู
  2. กาว
  3. สีผสมอาหาร
  4. น้ำสะอาด
  5. กระดาษ 100 ปอนด์
  6. ไม้จิ้มฟัน
วิธีการเตรียม
  1. ปั่นกระดาษทิชชูให้ละเอียด
  2. นำกระดาษที่ปั่นสร็จแล้วมาผสมกับน้ำเปล่าและสีผสมอาหาร ผสมให้เข้ากัน
  3. เติมกาวลงไปผสมให้เข้ากันจนพอดี
วิธีการทำ Paper MaChe
  1. ร่างรูปภาพลงบนกระดาษ
  2. นำกระดาษที่เตรียมมาเกลี่ยให้ทั่วภาพโดยใช้ไม้จิ้มฟันเกลี่ย 

ประโยชน์ของผลงาน
  1. เพื่อฝึกสมาธิ
  2. ฝึกกการใช้กล้ามเนื้อมือ
  3. ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
  4. ฝึกการกะระยะ
  5. ฝึกทักษะการทำ Paper Mache
  6. สามารถให้เด็กร่วมมือกันทำผลงานร่วมกัน
  7. บูรณาการกับหน่วยการเรียนรู้ได้
  8. นำไปจัดแสดงผลงานของเด็ก
  9. ฝึกความอดทน และการรอคอย
การนำความรู้ไปใช้
  1. นำศิลปะจากวัสดุธรรมชาติไปบูรณาการกับหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ
  2. การนำกิจกรรมไปจัดประสบการณ์การสร้างผลงานจากวัสดุธรรมชาติ
  3. นำศิลปะที่หลากหลายไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
  4. การนำโรงละครไปเล่านิทานและเพิ่มเติมตัวละครให้เด็กได้เลือกเล่น
  5. การนำกิจกรรม Paper Mache ไปจัดประสบการณ์ศิลปะแบบร่วมมือ
  6. การนำ Paper Mache ไปใช้เป็นศิลปะเพื่อการบำบัดได้ เพราะ สามารถส่งเสริมการใช้สมาธิและความอดทนของเด็ก
 

การประเมิน

ประเมินตนเอง : จัดเตรียมอุปกรณ์มาพร้อมเพื่อนำมาทำกิจกรรม ชื่นชอบ Paper Mache เพราะส่วนตัวไม่เคยทำเลยและคิดว่าตัวเองคงทำออกมาได้ไม่ดีและไม่ละเอียด พอได้ทำแล้วแรกๆก็ยังเกลี่ยไม่คล่องและยังไม่ละเอียด พอทำได้สักพักก็เริ่มคุ้นมือจนผลงานออกมาอย่างน่าพอใจ และยังได้ใช้สมาธิสูงในการทำ ฝึกความใจเย็น อดทน รอคอยได้ดี ส่วนกิจกรรมกลุ่มทำให้เห็นความหลากหลายของศิลปะ สามารถตอบคำถามตอนเป็นเด็กได้ว่าเราทำผลงานศิลปะเพื่ออะไร รู้ถึงขั้นตอนการวางแผนของครูผู้สอน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนมีวินัยในชั้นเรียน ตั้งใจทำงานกลุ่มและงานเดี่ยวออกมาได้ครบสมบูรณ์ ได้เห็นถึงความร่วมมือของเพื่อน และที่สำคัญ Paper Mache สามารถส่งเสริมการใช้สมาธิของเพื่อนได้ดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้เตียมกิจกรรมที่เด็กสามารถนำไปต่อยอดในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้จริง แต่ละกิจกรรมได้อธิบายและบอกการนำไปใช้เพิ่มเติม อาจารย์ได้นำศิลปะที่หลากหลายมาถ่ายทอด และที่สำคัญอาจารย์ให้ความสำคัญกับทุกผลงานของนักศึกษา

วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วันอังคาร ที่ 17 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา/กิจกรรม

โมบาย
วัสดุ : ไม้ตะเกียบ ไหมพรม กระดาษโปสเตอร์ เส้นมักโรนีย้อมสี หลอด

ประโยชน์ของผลงาน
  • พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
  • พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  • จัดแสดงนิทรรศการต่างๆ
  • สื่อหน่วยการเรียน
  • ใช้ตกแต่งเพื่อความสวยงาม
  • เห็นคุณค่าของวัสดุเหลือใช้


 ผลงานจานกระดาษ
วัสดุ : จานกระดาษ ใยสังเคราะห์ กาว
ผลงาน : เจ้าแกะน้อย 
ประโยชน์ของผลงาน
  • พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
  • การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
  • พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  • จัดแสดงนิทรรศการต่างๆ
  • สื่อหน่วยการเรียน เรื่อง สัตว์น่ารู้
  • ใช้เป็นสื่อการเรียนเพื่อการใช้ประสาทสัมผัส
  • เห็นคุณค่าของวัสดุเหลือใช้

การย้อมสีเส้นมักโรนี


จุ่มน้ำประมาณ 10 วินาที


นำมาตากลมให้แห้ง

การร้อยสร้อย

วัสดุ : เส้นมักโรนีย้อมสี ไหมพรม
ผลงาน : สร้อยColorful
ประโยชน์ของผลงาน
  • พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
  • พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  • จัดแสดงนิทรรศการต่างๆ
  • สื่อหน่วยการเรียน
  • เห็นคุณค่าของวัสดุเหลือใช้
  • ใช้สำหรับการแสดงต่างๆได้

แกนกระดาษทิชชู


วัสดุ : แกนทิชชู กาว กระดาษโปสเตอร์ ไหมพรม จานกระดาษ กระดาษแก้ว ส้นมักโรนี
ผลงาน แม่ไก่กกไข่
 ประโยชน์ของผลงาน
  • พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
  • พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
  • จัดแสดงนิทรรศการต่างๆ
  • สื่อหน่วยการเรียน เรื่อง ไก่
  • เห็นคุณค่าของวัสดุเหลือใช้



ผลงานจากวัสดุเหลือใช้




ผลงานปราสาทเมืองน้ำแข็ง
ประโยชน์ของผลงาน
  • พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
  • พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  • การทำงานเป็นกลุ่ม
  • จัดแสดงนิทรรศการต่างๆ
  • สื่อหน่วยการเรียน เรื่อง อากาศ และที่อยู่อาศัย
  • เห็นคุณค่าของวัสดุเหลือใช้


การนำความรู้ไปใช้
  1. เทคนิคการย้อมเส้นมักโรนี
  2. การทำโมบายจากวัสดุต่างที่เหลือใช้ หรือวัสดุธรรมชาติ
  3. การทำสื่อการสอนจานจากกระดาษ เช่น กรอบรูป หน้ากาก กระเป๋า หนังสือ
  4. การร้อยสร้อยจากเส้นมักโรนีผสมกับวัสดุอื่นๆพื่อความแปลกใหม่และสวยงาม
  5. การประดิษฐ์แกนทิชชูให้บูรณาการกับการเรียน
  6. การสร้างผลงานจากวัสดุเหลือใช้ เพื่อการจัดแสดง หรือบูรณาการกับวิชาอื่นๆ
การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตรียมอุปกรณ์มาพร้อมสำหรับการสร้างชิ้นงานเดี่ยวและกลุ่ม วางแผนการสร้างชิ้นงานมาล่วงหน้าและปรึกษาเพื่อนๆ ตั้งใจทำผลงานอย่างสนุกสนาน ได้เรียนรู้การแก้ปัญหา เช่น การร้อยเส้นมักโรนี ได้นำหลอดมาเป็นเข็มเพื่อง่ายต่อการร้อย ผลงานทุกชิ้นทำด้วนความตั้งใจและออกมาอย่างน่าพอใจ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนในห้องได้นำจานกระดาษมาเผื่อแผ่กลุ่มที่มีไม่พอ และตั้งใจทำงานของตนเองและทำงานกลุ่ม บรรยากาศสนุกสนาน ได้รับรู้ถึงความช่วยเหลือ ความสามัคคี 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา  จัดเตรียมอุปกรณ์เพียงพอกับจำนวนผลงานและนักศึกษา ได้นำเทนิคที่หลากหลายมาถ่ายทอด จนทำให้นักศึกษาได้เก็บและสามารถนำไปจัดประสบการณ์ได้จริง และการอธิบายความรู้เพิ่มเติมของแต่ละผลงาน ประทับใจที่อาจารย์สนใจกับทุกผลงานและให้ความสำคัญกับนักศึกษา


วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วันอังคาร ที่ 10 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา/กิจกรรม

งานกระดาษ


ฉีกปะ
ชื่อผลงาน : ปลาหมึก Colorfol

ตัดปะ

ผลงานนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหน่วยของยานพาหนะ หรือ เรื่องจราจร 

การขยำ
ผลงานไอศกรีมผลไม้ แนวคิด คือ ช่วงนี้เป็นช่วงอากาศร้อนหากเราได้กินไอศรีมเย็นก็สามารถดับร้อนได้

การเจาะร้อย
ชื่อผลงาน นกถลาลม จินตนาการเป็นนกที่กำลังบิน สีชมพูเป็นปีกนก สีเหลื่องเป็นตัวนก ถ้าเปรียบกับชีวิตคน ผลงานนนี้สามารถสื่อความหมายว่า 1 สมอง 2 ปีก 2 เท้า สมองมีไว้คิดไตร่ตรองการกระทำ ปีกหรือมือมีไว้กระทำตามความคิดที่ตั้งไว้ 2เท้ามีไว้ก้าวเดินไปข้างหน้าเพื่อไขว่คว้าเอาโอกาส

การสาน
บอลลูน สังเกตดูดีๆจะเห็นว่าบอลลูนอยู่สูงเกินไป จนทำให้ลูกโป่งมีสายที่สั้นไม่สมดุลกัน หากเปรียบเทียบแล้ว ก็เหมือนกับคนถ้าทำตัวสูงเหนือคนอื่นจนเกินไป อาจทำให้สิ่งรอบข้างนั้นพยุงด้วยความลำบาก หรือ อาจทำให้บอลลูนนั้นตกลงมา

การพับ

การพับรูปแบบการส่งเสริมการออกกำลังกาย สามารถใช้กับหน่วยการเรียนรู้ต่าง หรือทำเป็นหนังสือนิทานได้

การพับพัด
ผลงานแมงกระพุนตัวน้อย

การพับและวาดต่อเติม
ผลงานแม่เป็ดอาบน้ำ

การพับรูปแบบต่างๆ
ผลงานปลาเงิน ปลาทอง 
การม้วน
ผลงานการม้วนพวงมาลัย 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. นำรูปแบบกิจกรรมไปสอนเด็กปฐมวัยหรือนำไปประยุกต์ใช้กับเด็กพิเศษ
  2. การนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เด็กเห็นคุณค่าของวัสดุต่างๆ
  3. กิจกรรมขยำสามารถนำวัสดุอื่นทดแทนได้ เช่น ถุงพลาสติก กระดาษหนังสือพิมพ์
  4. การสร้างสรรค์ผลงานให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ
  5. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์ผลงานด้วยตัวเอง
  6. การนำรูปแบบการสอนของอาจารย์ไปใช้ คือ การสร้างข้อตกลง การแนะนำอุปกรณ์ การอธิบายผลงานที่เราต้องทำวันนี้ และการบอกประโยชน์ของผลงานแต่ละชิ้น
การประเมิน

การประเมินตนเอง : มีวินัยในชั้นเรียน และสนุกสนานกับการทำกิจกรรม มีบางกิจกรรมที่คุ้นเคยมาตั้งแต่เด็ก เช่น การฉีกปะ การตัดปะ การม้วน การพับ การพับพัด และบางกิจกรรมที่เห็นแต่ไม่เคยลงมือทำ เช่น การสาน การร้อยกระดาษ การขยำ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้กระบวนการทำ และสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับเด็กได้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำงานของตนเองด้วยความสนุกสนาน แต่อาจจะมีเสียงบ่นบ้างเล็กน้อยกับจำนวนชิ้นงาน ที่อาจก่อให้เกิดความเมื่อยล้า แต่ทั้งหมดอาจารย์ตั้งใจเตรียมให้ เราจึงตั้งใจ พยายามทำจนสำเร็จ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีมากค่ะ เช่น การแนะนำอุปกรณ์ การจัดรูปแบบการสอนที่เข้าถึงนักศึกษาทุกคน การช่วยเหลือ การอธิบายความรู้เพิ่มเติม สิ่งเหล่านี้นักศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ได้ในการเป็นครู และการใช้ชีวิตเป็นแม่พิมพ์ที่ดีค่ะ