วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วันอังคาร ที่ 7 เดือน เมษายน พ.ศ.2558


เนื้อหา/กิจกรรม


แผนการจัดประการณ์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 หน่วย : ปลาทองแสนสวย

วัตถุประสงค์
1. พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา
2.. เกิดความเพลิดเพลิน ชื่นชมสิ่งสวยงาม
3. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
4. พัฒนาภาษา อธิบายผลงานของตนเองได้
5. สามารถประดิษฐ์กลองปลาทองได้

สาระการเรียนรู้

สาระที่ควรเรียนรู้
1. วาดภาพปลาทองอิสระด้วยสีเทียน
2. ปั้นแป้งโดว์ปลาทอง
3. ฉีกปะภาพปลาทองอิสระ
4. ประดิษฐ์กลองปลาทอง (กิจกรรมพิเศษ)

ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
1. การเขียนภาพและเล่นกับสี
2. การปั้นและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ
ด้านอารมณ์-จิตใจ
3. การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
ด้านสังคม
4. การวางแผน ตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ
5. การมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจและความต้องการของตนเองและผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
6. การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงาน
7. การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อวัสดุ ต่างๆ 

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. จัดโต๊ะทำกิจกรรมออกเป็น 4 กลุ่ม โดยกำหนดให้เป็นโต๊ะวาดภาพอิสระด้วยสีเทียน 1 กลุ่ม โต๊ะฉีกปะภาพอิสระ 1 กลุ่ม โต๊ะปั้นแป้งโดว์ 1 กลุ่ม และโต๊ะประดิษฐ์กลองปลาทอง 1 กลุ่ม (กิจกรรมพิเศษ)
2. แนะนำวัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้เด็กๆ ฟัง
ขั้นสอน
3. อธิบายกิจกรรมพร้อมทั้งสาธิตการทำกิจกรรมกลองปลาทอง โดยตัดลูกโป่งส่วนหัวออก นำลูกโป่งส่วนที่เหลือครอบกระป๋องด้านบนดึงลูกโป่งให้ตรึงพอดี รัดด้วยเทปใส 2-3 รอบ (กันหลุด) ) ติดกระดาษวงกลมเล็กหลายๆชิ้นรอบกระป๋อง (เกล็ดปลา)  เสร็จแล้วตกแต่งให้สวยงามตามจินตนาการ
4. ให้เด็กเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนดให้ ตามความสนใจ เมื่อทำเสร็จแล้ว นำผลงานมาส่งพร้อมบอก อธิบายผลงานให้ครูฟัง แล้วนำผลงานไปเก็บในที่เก็บผลงาน
5. ให้เด็กหมุนเวียนทำกิจกรรมต่างๆ จนครบทุกกิจกรรม
ขั้นสรุป
6. เด็กออกมานำเสนอผลงานที่ทำให้เพื่อนฟัง
7. ช่วยกันเก็บวัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. กระดาษเอ 4
2. สีเทียน
3. แป้งโดว์
4. กระป๋อง
 5.ลูกโป่ง
6. กาว
7. กระดาษสี
8.เทปใส
9. ผ้าคลุมโต๊ะ

การวัดและประเมินผล
1. การใช้กล้ามเนื้อมือและตา
2. ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
3. การอธิบายชื่อผลงาน อธิบายผลงาน
4. การประดิษฐ์กลองปลาทอง

การบูรณาการ
  • วิทยาศาสตร์ การสั่นสะเทือน เสียง พลังงานศักย์ยืดหยุ่น
  • ดนตรี
การนำความรู้ไปใช้
  • การเขียนแผนประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับหลักสูตร
  • การเขียนแผนที่ละเอียดไม่วับซ้อน
  • การเขียนแผนที่ครอบคลุมและส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ครบทุกด้าน
  • การเขียนแผนที่เชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนรู้และมีกิจกรรมที่หลากหลาย
การประเมิน
ประเมินตนเอง : มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแผนประสบการณ์มากขึ้น เมื่อนำหลักสูตรเข้ามาเขียนเชื่อมโยงกันแล้วทำให้แผนนั้นน่าเชื่อถือ มีหลักการ และง่ายต่อการเรียนการสอน 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนส่วนใหญ่มีความเข้ากับเกี่ยวกับการเขียนแผน ส่วนคนไหนที่เขียนตกหล่นก็ได้เพิ่มเติม ปรับปรุงแผนของตนเองให้ดี จากคำแนะนำของอาจารย์และเพื่อนร่วมห้อง ทำให้ทุกคนมีความรู้มากขึ้น

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นผู้ที่มาไขกุญแจการเขียนแผนประสบการณ์ เพราะตลอดเวลาที่เขียนมาแทบทุกคนแล้วจะเขียนไม่สมบูรณ์ ไม่ละเอียดมาก แต่พอได้ลงเขียนแผนกับอาจารย์แล้ว ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจ และง่ายกับการจัดกิจกรรมค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น