บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วันอังคาร ที่ 26 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558
เนื้อหา/กิจกรรม
1.ศิลปะจากวัสดุธรรมชาติ
อุปกรณ์ : .ใบไม้ ดอกไม้ ที่นำไปทับด้วยหนังสือจนแห้ง
ชื่อผลงาน : ใต้ท้องทะเล
ประโยชน์ของผลงาน
- เพื่อให้เด็กรู้คุณค่าของวัสดุธรรมชาติ
- เพื่อให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงของใบไม้ดอกไม้เมื่อนำไปทับจนแห้ง
- เพื่อส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์
- สามารถนำไปแสดงผลงานจัดนิทรรศการได้
- เพื่อฝึกทักษะกล้ามเนื้อมือ
- ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
- ฝึกสมาธิเด็ก
- ต่อยอดสร้างเป็นเรื่องราวจากผลงานได้
- ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่มโดยศิลปะแบบร่วมมือ
2.ศิลปะแบบผสม
ชื่อผลงาน : โรงละครสุมหัว
ศิลปะที่นำมาใช้ :
- การหยดสี
- การเป่าสี
- การสลัดสี
- การตัดกระดาษ
- การสาน
- การฉีกปะ
- ศิลปะสีชอร์ก
- การพับ
- การม้วน
- การพับและต่อเติม
ประโยชน์ของผลงาน
- ฝึกกล้ามเนื้อมือ
- ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
- เพื่อฝึกมาความคิดสร้างสรรค์
- เพื่อให้เห็นความหลากหลายของงานศิลปะ
- ฝึกการเลือกและใช้อุปกรณ์ที่หลากหลาย
- สามารถนำไปจัดกับหน่วยการเรียนรู้ต่างๆได้
- สามารถทำเป็นโรงละครเล็กได้
- ฝึกการเรียนศิลปะที่หลากหลายในผลงานหนึ่งชิ้น
- ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม
- ส่งสริมด้านมิติสัมพันธ์
3.Paper Mache
อุปกรณ์
- กระดาษทิชชู
- กาว
- สีผสมอาหาร
- น้ำสะอาด
- กระดาษ 100 ปอนด์
- ไม้จิ้มฟัน
- ปั่นกระดาษทิชชูให้ละเอียด
- นำกระดาษที่ปั่นสร็จแล้วมาผสมกับน้ำเปล่าและสีผสมอาหาร ผสมให้เข้ากัน
- เติมกาวลงไปผสมให้เข้ากันจนพอดี
- ร่างรูปภาพลงบนกระดาษ
- นำกระดาษที่เตรียมมาเกลี่ยให้ทั่วภาพโดยใช้ไม้จิ้มฟันเกลี่ย
ประโยชน์ของผลงาน
- เพื่อฝึกสมาธิ
- ฝึกกการใช้กล้ามเนื้อมือ
- ฝึกการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา
- ฝึกการกะระยะ
- ฝึกทักษะการทำ Paper Mache
- สามารถให้เด็กร่วมมือกันทำผลงานร่วมกัน
- บูรณาการกับหน่วยการเรียนรู้ได้
- นำไปจัดแสดงผลงานของเด็ก
- ฝึกความอดทน และการรอคอย
การนำความรู้ไปใช้
- นำศิลปะจากวัสดุธรรมชาติไปบูรณาการกับหน่วยการเรียนรู้ต่างๆ
- การนำกิจกรรมไปจัดประสบการณ์การสร้างผลงานจากวัสดุธรรมชาติ
- นำศิลปะที่หลากหลายไปจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
- การนำโรงละครไปเล่านิทานและเพิ่มเติมตัวละครให้เด็กได้เลือกเล่น
- การนำกิจกรรม Paper Mache ไปจัดประสบการณ์ศิลปะแบบร่วมมือ
- การนำ Paper Mache ไปใช้เป็นศิลปะเพื่อการบำบัดได้ เพราะ สามารถส่งเสริมการใช้สมาธิและความอดทนของเด็ก
การประเมิน
ประเมินตนเอง : จัดเตรียมอุปกรณ์มาพร้อมเพื่อนำมาทำกิจกรรม ชื่นชอบ Paper Mache เพราะส่วนตัวไม่เคยทำเลยและคิดว่าตัวเองคงทำออกมาได้ไม่ดีและไม่ละเอียด พอได้ทำแล้วแรกๆก็ยังเกลี่ยไม่คล่องและยังไม่ละเอียด พอทำได้สักพักก็เริ่มคุ้นมือจนผลงานออกมาอย่างน่าพอใจ และยังได้ใช้สมาธิสูงในการทำ ฝึกความใจเย็น อดทน รอคอยได้ดี ส่วนกิจกรรมกลุ่มทำให้เห็นความหลากหลายของศิลปะ สามารถตอบคำถามตอนเป็นเด็กได้ว่าเราทำผลงานศิลปะเพื่ออะไร รู้ถึงขั้นตอนการวางแผนของครูผู้สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนมีวินัยในชั้นเรียน ตั้งใจทำงานกลุ่มและงานเดี่ยวออกมาได้ครบสมบูรณ์ ได้เห็นถึงความร่วมมือของเพื่อน และที่สำคัญ Paper Mache สามารถส่งเสริมการใช้สมาธิของเพื่อนได้ดี
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้เตียมกิจกรรมที่เด็กสามารถนำไปต่อยอดในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้จริง แต่ละกิจกรรมได้อธิบายและบอกการนำไปใช้เพิ่มเติม อาจารย์ได้นำศิลปะที่หลากหลายมาถ่ายทอด และที่สำคัญอาจารย์ให้ความสำคัญกับทุกผลงานของนักศึกษา