วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3


บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วันอังคาร,วันพฤหัสดี ที่ 25,27 เดือน มกราคม พ.ศ,2558

เนื้อหา/กิจกรรม

หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

ความสำคัญ
  • ศิลปะ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะศิลปะ ช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ที่หลากหลาย ด้านการสำรวจ ตรวจสอบ ด้านวัสดุ อุปกรณ์ ด้านความรู้สึก และการใช้ประสาทสัมผัส
จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
  • ปลูกฝังนิสัยอันดีงาม และความพร้อมสำหรับการศึกษาในชั้นสูงต่อไป
  • ฝึกการใช้มือและตรียมความพร้อม ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถของแต่ละคน
  • พัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา และบุคลิกภาพ
บทบาทของครูศิลปะ
  • ผู้สร้างบรรยากาศ
  • ผู้ส่งเสริมและสนับสนุน
  • เป็นต้นแบบที่ดี
  • สอนด้วยใจรัก
  • ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง
  • เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
  • กระตุ้น ท้าทาย ยั่วยุ
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม มีการวางแผน
ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะด็กปฐมวัย
  • หลีกเลี่ยงการให้แบบ
  • ไม่แทรกแทรงความคิดเด็ก
  • ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำงาน
  • ไม่วิจารณ์งานเด็ก
  • ส่งเสริมให้ผู้ปกครองห็นคุณค่าของงานเด็ก
  • ไม่บีบบังคับ
การเตรียมการสำหรับการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
  • การสร้างข้อตกลง
  • การจัดเตรียมอุปกรณ์
  • การจัดวางวัสดุ ให้สะดวกแก่การใช้งาน
  • การจัดเตรียมเครื่องมือรักษาความสะอาด
  • การจัดเตรียมพื้นที่ในการทำงานที่เหมาะสม
  • การจัดเก็บผลงาน
ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
  • เลือกเรื่อง
  • กำหนดจุดประสงค์
  • เตรียมแผนการสอน เตรียมอุปกรณ์ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์
  • สอนตามแผน
  • เตรียมเด็กให้พร้อมก่อนทำผลงาน
  • การปฏิบัติงานของเด็ก โดยมีครูดูแล
  • การเก็บ การรักษา
  • การประเมินผลงานของเด็ก
เทคนิควิธีการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
  1. เข้าถึง การดูแลเอาใจใส่เด็กอย่างท่าเทียม
  2. เข้าใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
  3. ให้ความรัก รักและเข้าใจ สนับสนุนและพัฒนา
  4. สร้างบรรยากาศ ท้าทาย หลากหลาย สนุก อิสระ
  5. มีระเบียบวินัย มีข้อตกลงร่วมกัน
  6. ปลอดภัย คำนึงถึงความปลอดภัย
กิจกรรม
กิจกรรมต่อเติมครึ่งวงกลม

จากครึ่งวงกลม จะแปรงร่างเป็นอะไรดีน่ะ โอมๆๆๆๆนะโมนะเมี่ยง โอมพี้ยง โอมเพี้ยง ครึ่งน้อยแปรงร่าง เพี้ยง......


จ๊ะเอ๋...ฉันก็แปรงร่างเป็น...เจ้านกยูงแสนสวยไงล่ะจ๊ะ เห็นหางฉันไหมจ๊ะสีรุ้งหลากสีเชียว เวลาฉันกางออกมาเมื่อไหร่ทุกคนที่พบเห็นเป็นต้อง แชะ & แชร์ เลยล่ะ

กิจกรรมลวดลายที่แตกต่างอย่างลงตัว




ช่อง 36 ช่อง วาดลวดลายที่แตกต่างกัน 


ฮูก ฮูก ฮูก เจ้านกฮูกตาโต
ตายิ่งมองยิ่งโก้
ตาโต๊โตในยามกลางคืน
สังเกตดีดีสิจ๊ะลวดลายบนตัวของฉันมาจากไหนน่ะ...?


อุ๊ย.....ฉันไปทำไฮไลค์ขนมาด้วยน่ะ รู้กันหรือยังเอ๋ยว่าช่างเอาลวดลายมาจากไหน
รู้แล้วตอบด้วยนะจ๊ะ
 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การนำเทคนิควิธี การตรียมการสอนให้ดีและเป็นระบบ ไปจัดกิจกรรมให้เด็ก
  2. เรียนรู้และฝึกฝนตนองให้พร้อมต่อการเป็นครูที่ดี และมีทักษะทางศิลปะ
  3. การนำกิจกรรมต่อเติมไปจัดกิจกรรมให้เด็ก หรือ นำไปใช้กับวิชาการเรียนในระดับต่อไป
  4. การนำลวดลายมาสร้างชิ้นงานอื่นๆ เช่น ทำการ์ดอวยพรวันสำคัญต่างๆ ป้ายนิเทศ เป็นต้น


การประเมิน
ประเมินตนเอง : เรียนรู้เนื้อเข้าใจ สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้ และกิจกรรมสามารถทำผลงานออกมาได้ดี เต็มความสามารถของตนเอง การเรียนวิชาจากที่คิดมาเสมอว่าว่าตนเองทำไม่ได้แน่ๆ แต่พอได้เรียนเริ่มสนุกและมีความสุขกับการสร้างสรรค์งานศิลปะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีวินัยในห้องเรียน มีส่วนร่วมในการตอบคำถามกับเนื้อหาการเรียน ทุกคนสร้างสรรค์ผลงานได้สวยงามตามจินตนา บรรยากาศการเรียนสนุกสนาน และอบอุ่น

ประเมินอาจารย์ :อาจารย์สอนเนื้อหาได้กระชับ เตรียมความพร้อมมาอย่างดีทั้งอุปกรณ์ และการสอนทฤษฎี ประทับใจเทคนิคดีๆที่สอดแทรกความคิด และกิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานแต่ละชิ้นทำให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้และต่อยอดได้จริงค่ะ 



บันทึกอนุทินครั้งที่ 2



บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วันอังคาร,วันพฤหัสดี ที่ 18,20 เดือน มกราคม พ.ศ,2558

เนื้อหา/กิจกรรม
ความหมายและความสำคัญของศิลปะ

ศิลปะ  แต่เดิมหมายถึง งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ด้วยความปราณีต ฉะนั้น งานศิลปะไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็น สิ่งที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความพากเพียรสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่

ปรัชญาศิลปศึกษา 
  • ให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์งาน
  • เน้นความไวในการรับรู้ด้านอารมณ์ ความคิดจากสิ่งที่มองเห็น
  • มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์

ตอบสนองความต้องการของเด็ก ( เด็กมีความคิด จินตนาการ ชอบวาดรูป ขีดเขียน และถ่ายทอดความรู้สึก) หากเด็กได้รับการตอบสนอง และกำลังใจที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ได้หลากหลาย 
ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย คือ พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา
  • ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น
  • ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
  • ช่วนเสริมสร้าง / กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
  • ทฤษฎีความคิดสองลักษณะ
      แพทย์หญิงกมลพรรณ ชีวพันธุศรี กล่าวว่า คนเรามีสมอง 2 ซีก
สมองซีกซ้าย  ซึ่งเป็นส่วนของจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ สามารถพัฒนาได้มากในช่วงวัย 4-7 ปี
สมองซีกขวา  ซึ่งเป็นส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล และพัฒนาในช่วง 9-12 ปี และสมองเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุ 11-13 ปี
  • ทฤษฎีAUTA
  1. ขั้นการตระหนัก  ตระหนักถึงความสำคัญของคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน
  2. ขั้นความเข้าใจ   มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องต่างๆ
  3. ขั้นเทคนิควิธี      การรู้เทคนิควิธีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  4. ขั้นการตระหนักในความจริงของต่างๆ  การตระหนักในตนเอง พอใจในตนเอง
พัฒนาการทางศิลปะ

เคลล็อก (Kellogg) ศึกษาการขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย และจำแนกขั้นตอนได้เป็น 4 ขั้นตอน
  • ขั้นที่ 1 ขั้นขีดขี่ย (placcment stage) เด็กวัย 2 ขวบ ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ ขีดโดยปราศจากการควบคุม
  • ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง (shape stage) เด็กวัย 3 ขวบ เขียนวงกลมได้ 
  • ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ (design stage) เด็กวัย 4 ขวบ วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้ วาดสี่เหลี่ยมได้
  • ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ (pictorial stage) เด็กวัย 5 ขวบ วาดสามหลี่ยมได้ ควบคุมการวาดได้ดี 
พัฒนาการด้านร่างกาย
กีเซลล์และคอร์บิน สรุปพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของด็กปฐมวัยตามลักษณะพฤติกรรม ทางการใช้กล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็กดังนี้
ด้านการตัด
  • อายุ 3-4 ปี ตัดกระดาษเป็นชิ้นส่วนๆได้
  • อายุ 4-5 ปี ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
  • อายุ 5-6 ปี ตัดกระดาษตามเส้นโค้งและรูปร่างต่างๆได้
การขีดเขียน
  • อายุ 3-4 ปี เขียนรูปวงกลมตามแบบได้
  • อายุ 4-5 ปี เขียนรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสตามแบบได้
  • อายุ 5-6 ปี เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบได้
การพับ
  • อายุ 3-4 ปี พับและรีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้
  • อายุ 4-5 ปี พับและรีดสันกระดาษสามทบตามแบบได้
  • อายุ 5-6 ปี พับและรีดสันกระดาษได้คล่องแคล่ว หลายแบบ
การวาด
  • อายุ 3-4 ปี วาดคน ศีรษะ ตา ปาก
  • อายุ 4-5 ปี วาดคน ศีรษะ ตา ปาก จมูก ลำตัว เท้า
  • อายุ 5-6 ปี วาดคน ศีรษะ ตา ปาก จมูก ลำตัว เท้า แขน มือ คอ ผม
กิจกรรมมือหรรษา

กิจกรรมและประสบการณ์ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เด็กได้เรียนรู้การใช้สีที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กสนุกสนานในการเล่นสีสัน


ชื่อผลงาน MY WORLD
แนวคิด : โลกของฉันมีความอุดมสมบูรณ์ มีทั้งน้ำ ป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติที่งดงาม และกำลังผลิดอกออกผล ส่วนตรงกลางสีแดง หมายถึง เลือดของคนในโลกที่จะแข็งแกว่ง และสามัคคี เพื่อทำให้โลกใบนี้น่าอยู่และเจริญรุ่งเรือง


งานรายบุคคล : เราจะเห็นได้ว่ามือของเราที่ได้ถ่ายทอดออกมา มีความคิดที่หลากหลายให้เราได้เรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล


งานรายกลุ่ม หรืองานแบบร่วมมือ : เมื่อนำหลายๆสิ่งมาอยู่รวมกันเป็นผลงาน เราจะมองเห็นความงดงามอีกหนึ่งมุมมองที่มีชิ้นดียวในโลก ซึ่งชิ้นงานสร้างจากความคิดและจินตนาการของหลายๆความคิดมาประกอบกัน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การนำทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ มาเป็นแนวทางในการจัดประสบการณ์ทางศิลปะให้กับเด็กปฐมวัย
  2. การนำกิจกรรมมือน้อยหรรษาไปจัดกิจกรรมและประสบการณ์
  3. การต่อยอดจากสีไม้ เป็นสีไม้ สีเทียน หรือสีธรรมชาติ เพื่อให้เด็กได้ฝึกการใช้สีได้หลากหลาย
  4. การต่อยอดจากมือให้เด็กได้ใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น เท้า ศอก แขน เป็นต้น
การประเมิน
ประเมินตนเอง : มีวินัยในชั้นเรียน เรียนรูเนื้อหาทฏษฎี ความหมายความสำคัญของศิลปะ และทำกิจกรรมในห้องเรียนได้อย่างสนุกสนาน ชอบการตั้งชื่อผลงานที่ทำให้เราถ่ายทอดแนวคิดได้ และประทับใจการนำรูปภาพมาประกอบกันเป็น 1 ชิ้นงาน ทำให้รู้ถึงความสร้างสรรค์ที่หลากหลายทิศทาง

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนกับเนื้อหา และสนุกสนานกับการทำกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกคนร่วมมือกันสร้างชิ้นงานได้ออกมาดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเนื้อหาได้กระชับและเข้าใจเนื้อหาได้ดี มีภาพประกอบทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน และชื่นชอบกิจกรรมมาก เพราะทำให้เราเห็นประโยชน์ในร่างกายของเราได้หลากหลายมากขึ้น ทุกๆกิจกรรมสามารถนำไปใช้ได้จริง ขอบคุณอาจารย์ที่นำกิจกรรมดีมาให้นักศึกษาได้เรียนรู้นะคะ



วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1


บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วันอังคาร,วันพฤหัสบดี ที่ 13,15 เดือน มกราคม พ.ศ.2558

เนื้อหา/กิจกรรม

1. Pretest การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.ศิลปะคืออะไรมีความสำคัญกับเด็กปฐมวัยอย่างไรบ้าง
ตอบ ศาสตร์ของศิลป์ ที่แสดงออกของความคิด ความคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ การแสดงออกของอารมณ์และความรู้สึก การคิดและการแก้ปัญหาผ่านผลงานการสร้างสรรค์
ความสำคัญ เพื่อพัฒนาอวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายให้ใช้งานประสานสัมพันธ์กัน ทั้งกล้ามเนื้อเล็กและกล้ามเนื้อใหญ่ การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา และพัฒนาศาสตร์ของศิลปะ คือการแสดงความคิดสร้างสรรค์ การคิดและแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
2.ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยในแนวคิดนักศึกษาเป็นอย่างไร
ตอบ การกระทำต่อวัตถุสิ่งของผ่านความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ เช่น การวาด การระบายสี การปั้น การประดิษฐ์ เป็นต้น
3.คุณลักษณะของครูปฐมวัยที่สอนศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยควรมีลักษณะอย่างไร
  1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  2. มีอารมณ์ดี มองโลกในแง่ดี
  3. มีเทคนิคและจิตวิทยาในการสอน
  4. จัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม
  5. มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก
  6. มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับศิลปะ
  7. คอยชี้แนะและกระตุ้นเด็ก
4.ครูปฐมวัยควรสอนอะไรให้กับเด็กปฐมวัย
  1. เส้น
  2. สี
  3. ทักษะการวาดภาพพื้นฐาน
5.ให้นักศึกษายกตัวอย่างกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
ตอบ การวาด การระบายสี การปั้น การพับ การพิมพ์ การประดิษฐ์ การเรียง การสร้าง การร้อย การเป่า การต่อเติม เป็นต้น
6.วิธีการประเมินผลงานทางศิลปะของเด็กปฐมวัยอย่างไร
  1. ประเมินตามวัตถุประสงค์การกเรียนรู้
  2. ประเมินกระบวนการทำงานของเด็ก
  3. ประเมินชิ้นงานรายละเอียดของงาน
7.สิ่งที่คาดหวังกับรายวิชานี้
  1. เทคนิคการวาดภาพ
  2. รูปแบบการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก
  3. การประดิษฐ์ผลงานจากวัสดุที่หลากหลาย
  4. การประเมินผลงานเด็ก
กิจกรรม ถ่ายทอดความรู้


กิจกรรม วาดตนเองตามจินตนาการ
ชื่อผลงาน : เส้นทางสู่ดาว
แนวคิด : การเดินทางที่ต้องเจอกับสิ่งต่างๆมากมาย มีหลายร้อยความต้องการเพื่อที่เดินไปถึงความฝัน หนึ่งก้าวที่เริ่มต้นเดินคือหนึ่งความสำเร็จของการเดินทาง....



ปลูกจิตคนเป็นครู  ด.เด็ก ช.ช้าง


  การสะท้อน : ทำให้เรารู้ว่าเมื่อเราสั่งงานเด็ก เราควรคอยเข้าไปดูหรือควรอำนวยสะดวกกับเด็ก เมื่อตรวจผลงานเด็กควรตรวจจากกระบวนการ รายละเอียด ไม่ใช่ตรวจแค่ความสวยงาม ไม่ควรประจานผลงานของเด็กในเชิงลบ เพราะอาจปิดกั้นความสามารถหรือความคิดของเด็ก และที่สำคัญคนเป็นครูต้องคอยกระตุ้น ชี้แนะ และให้กำลังใจเด็ก เพื่อทำให้เด็กภูมิใจและต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ของเด็กต่อไปในอนาคต


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การอธิบายหรือชี้แจงกิจกรรมให้ด็กฟังก่อนทำกิจกรรมต่างๆ
  2. การประเมินผลงานเด็ก คือ ตามวัตถุประสงค์ กระบวนการ รายละเอียดของงาน
  3. การติดผลงานเด็กที่เป็นระเบียบและถูกต้อง
  4. การเดินดูและคอยกระตุ้นเด็ก
  5. การแจกอุปกรณ์ให้เด็ก และการแจกสีเป็นชิ้นสุดท้ายเพื่อป้องกันการขีดเขียน
การประเมิน
ประเมินตนเอง
   แต่งการเรียบร้อย ตรงต่อเวลา มีวินัยในห้องเรียน ตั้งใจเรียนเนื้อหาและกิจกกรรมในห้องเรียน มีความร่วมมือกับการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ผู้สอน
ประเมินเพื่อน
   เพื่อนมีวินัยในชั้นเรียน ตั้งเรียนและร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆในชั้นเรียน ทำให้บรรยากาศสนุกสานและตื่นเต้น
ประเมินอาจารย์
   อาจารย์ต็มที่กับหน้าการสอน เช่นเวลาเรียน การสอนเนื้อหา การบอกเล่าเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ของนักศึกษาต่อไป