วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วันอังคาร ที่ 21 เดือน เมษายน พ.ศ.2558


เนื้อหา/กิจกรรม


กิจกรรมการทดลองสอนตามแผนการณ์จัดประสบการณ์ของแต่ละกลุ่ม

กลุ่มที่ 1 หน่วยกล้วย

  1. วาดภาพกล้วยอิสระด้วยสีเทียน
  2. วาดภาพกล้วยอิสระด้วยสีน้ำ
  3. การตัดปะ
  4. การขยำกระดาษ (กิจกรรมพิเศษ)
กลุ่มที่ 2 หน่วยปลา
  1. วาดภาพปลาอิสระด้วยสีเทียน
  2. วาดภาพปลาอิสระด้วยสีน้ำ
  3. การปั้นดินน้ำมัน
  4. กิจกรรม Paper Mache (กิจกรรมพิเศษ)
กลุ่มที่ 3 หน่วยนก

  1. วาดภาพนกอิสระด้วยสีเทียน
  2. การตัดปะ
  3. การปั้นดินน้ำมัน
  4. กิจกรรมประดิษฐ์นกน้อย (กิจกรรมพิเศษ)
กลุ่มที่ 4 หน่วยผลไม้
  1. วาดภาพผลไม้อิสระด้วยดินสอสี
  2. การฉีกปะ
  3. การตัดปะ
  4. กิจกรรมประดิษฐ์โมบายจานกระดาษ (กิจกรรมพิเศษ)
หน่วยที่ 5 หน่วยดอกไม้
  1. วาดภาพดอกไม้อิสระด้วยสีน้ำ
  2. วาดภาพปลาดอกไม้ะด้วยสีเทียน
  3. การปั้นดินน้ำมัน
  4. การขยำกระดาษ (กิจกรรมพิเศษ)
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การนำแผนการจัดประสบการณ์มาใช้เป็นแนวทางในการศึกษา
  2. การนำแผนการสอนมาปรับปรุงให้เข้ากับสภาพผู้เรียน
  3. การจัดประการณ์ให้สอดคล้องและบูรณาการกับหน่วยต่างๆ
  4. การจัดประสบการณ์ศิลปะให้หลากหลาย
  5. การจัดเวลาในการทำศิลปะให้เหมาะสม
การประเมิน

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา มีวินัยในชั้นเรียน และมีส่วนร่วมในการจัดประสบการณ์ทำให้ตนเองได้รู้ถึงข้อบกพร่องเพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาต่อไป

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อนำมาทดลองสอน แต่ละกลุ่มสามารถจัดประสบการณ์ออกมาได้ดี แต่อาจมีข้อบกพร่องเล็กน้อย แต่อาจารย์ก็ได้เพิ่มเติมในส่วนนี้ ทำให้ทุกคนมีความรู้มากขึ้น

ประเมินอาจารย์ : อาจารยืเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นแม่พิมพ์ของชาติ คือ การทุ่มเทในการสอน การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ การจัดเตรียมข้อมูลล่วงหน้า ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้และประทับเป็นอย่างมากค่ะ

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วันอังคาร ที่ 7 เดือน เมษายน พ.ศ.2558


เนื้อหา/กิจกรรม


แผนการจัดประการณ์ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 หน่วย : ปลาทองแสนสวย

วัตถุประสงค์
1. พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา
2.. เกิดความเพลิดเพลิน ชื่นชมสิ่งสวยงาม
3. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
4. พัฒนาภาษา อธิบายผลงานของตนเองได้
5. สามารถประดิษฐ์กลองปลาทองได้

สาระการเรียนรู้

สาระที่ควรเรียนรู้
1. วาดภาพปลาทองอิสระด้วยสีเทียน
2. ปั้นแป้งโดว์ปลาทอง
3. ฉีกปะภาพปลาทองอิสระ
4. ประดิษฐ์กลองปลาทอง (กิจกรรมพิเศษ)

ประสบการณ์สำคัญ
ด้านร่างกาย
1. การเขียนภาพและเล่นกับสี
2. การปั้นและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ
ด้านอารมณ์-จิตใจ
3. การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
ด้านสังคม
4. การวางแผน ตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ
5. การมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจและความต้องการของตนเองและผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
6. การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงาน
7. การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อวัสดุ ต่างๆ 

กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1. จัดโต๊ะทำกิจกรรมออกเป็น 4 กลุ่ม โดยกำหนดให้เป็นโต๊ะวาดภาพอิสระด้วยสีเทียน 1 กลุ่ม โต๊ะฉีกปะภาพอิสระ 1 กลุ่ม โต๊ะปั้นแป้งโดว์ 1 กลุ่ม และโต๊ะประดิษฐ์กลองปลาทอง 1 กลุ่ม (กิจกรรมพิเศษ)
2. แนะนำวัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้เด็กๆ ฟัง
ขั้นสอน
3. อธิบายกิจกรรมพร้อมทั้งสาธิตการทำกิจกรรมกลองปลาทอง โดยตัดลูกโป่งส่วนหัวออก นำลูกโป่งส่วนที่เหลือครอบกระป๋องด้านบนดึงลูกโป่งให้ตรึงพอดี รัดด้วยเทปใส 2-3 รอบ (กันหลุด) ) ติดกระดาษวงกลมเล็กหลายๆชิ้นรอบกระป๋อง (เกล็ดปลา)  เสร็จแล้วตกแต่งให้สวยงามตามจินตนาการ
4. ให้เด็กเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนดให้ ตามความสนใจ เมื่อทำเสร็จแล้ว นำผลงานมาส่งพร้อมบอก อธิบายผลงานให้ครูฟัง แล้วนำผลงานไปเก็บในที่เก็บผลงาน
5. ให้เด็กหมุนเวียนทำกิจกรรมต่างๆ จนครบทุกกิจกรรม
ขั้นสรุป
6. เด็กออกมานำเสนอผลงานที่ทำให้เพื่อนฟัง
7. ช่วยกันเก็บวัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมเข้าที่ให้เรียบร้อย

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
1. กระดาษเอ 4
2. สีเทียน
3. แป้งโดว์
4. กระป๋อง
 5.ลูกโป่ง
6. กาว
7. กระดาษสี
8.เทปใส
9. ผ้าคลุมโต๊ะ

การวัดและประเมินผล
1. การใช้กล้ามเนื้อมือและตา
2. ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
3. การอธิบายชื่อผลงาน อธิบายผลงาน
4. การประดิษฐ์กลองปลาทอง

การบูรณาการ
  • วิทยาศาสตร์ การสั่นสะเทือน เสียง พลังงานศักย์ยืดหยุ่น
  • ดนตรี
การนำความรู้ไปใช้
  • การเขียนแผนประสบการณ์ที่เชื่อมโยงกับหลักสูตร
  • การเขียนแผนที่ละเอียดไม่วับซ้อน
  • การเขียนแผนที่ครอบคลุมและส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้ครบทุกด้าน
  • การเขียนแผนที่เชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนรู้และมีกิจกรรมที่หลากหลาย
การประเมิน
ประเมินตนเอง : มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนแผนประสบการณ์มากขึ้น เมื่อนำหลักสูตรเข้ามาเขียนเชื่อมโยงกันแล้วทำให้แผนนั้นน่าเชื่อถือ มีหลักการ และง่ายต่อการเรียนการสอน 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนส่วนใหญ่มีความเข้ากับเกี่ยวกับการเขียนแผน ส่วนคนไหนที่เขียนตกหล่นก็ได้เพิ่มเติม ปรับปรุงแผนของตนเองให้ดี จากคำแนะนำของอาจารย์และเพื่อนร่วมห้อง ทำให้ทุกคนมีความรู้มากขึ้น

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นผู้ที่มาไขกุญแจการเขียนแผนประสบการณ์ เพราะตลอดเวลาที่เขียนมาแทบทุกคนแล้วจะเขียนไม่สมบูรณ์ ไม่ละเอียดมาก แต่พอได้ลงเขียนแผนกับอาจารย์แล้ว ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจ และง่ายกับการจัดกิจกรรมค่ะ

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วันอังคาร ที่ 31 เดือน มีนาคม พ.ศ.2558


เนื้อหา/กิจกรรม
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์

จุดประสงค์ของการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
  1. เพื่อให้ผู้สอนวางแผนล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
  2. เพื่อให้ผู้สอนนำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมประจำวันให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์
  1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  2. วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษา ความสัมพันธ์ของมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (จุดหมาย) ตัวบ่งชี้ สภาพที่พึงประสงค์
  3. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้
  4. กำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์
  • เด็กเป็นผู้กำหนด
  • ผู้สอนและเด็กร่วมกันกำหนด
  • ผู้สอนเป็นผู้กำหนด
กำหนดหัวเรื่องหน่วยการจัดประสบการณ์ ควรมีลักษณะดังนี้
  • เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของเด็ก
  • ตรงตามความต้องการและความสนใจของเด็ก
  • สอดคล้องกับสภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็ก
ผนวกคุณธรรมและจริยธรรมเข้าไปได้อย่างผสมผสานกลมกลืน
   5.  เขียนแผนการจัดประสบการณ์

ตัวอย่าง   การเขียนแผนการจัดประสบการณ์

ชื่อหน่วย..............................................

สิ่งที่เด็กรู้แล้ว          (ได้จากการสังเกต สนทนา และบันทึก)              
สิ่งที่เด็กต้องการรู้   (ได้จากคำถามที่เด็กถาม) 
สิ่งที่เด็กควรรู้          (ได้จากการศึกษาหลักสูตร)

วัน :                                                              เวลา :
จุดประสงค์ : 
๑.
๒.
๓.
(เป้าหมายพฤติกรรมที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก ควรอยู่บนพื้นฐานพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน)
สาระการเรียนรู้ : ๑.สาระที่ควรเรียนรู้
                              ๒.ประสบการณ์สำคัญ (กำหนดไว้ในหลักสูตร)

วิธีการดำเนินกิจกรรม :
๑.
๒.
๓.
สื่อ :
การประเมิน : (สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนด)
บันทึกหลังสอน : 

การนำความรู้ไปใช้
  1. การศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ ให้เข้าใจแม่นยำและแตกฉาน
  2. การวิเคราะห์หลักสูตรให้ได้และตรงตามประสบการณ์ที่เราจะเขียนและจัดกิจกรรม
  3. นำรูปแบบการเขียนแผนไปเขียนให้ถูกต้องและสามารถอิงหลักสูตรได้เพื่อให้แผนนั้นมีความน่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพ
  4. การศึกษาหลักสูตรเพื่อนำมาเขียนสาระการเรียนรู้ได้ถูกต้องกับประสบการณ์ที่เราจะจัด
  5. นำรูปแบบกิจกรรมที่เขียนไปใช้กับเด็กเพื่อนำมาประเมินและพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
การประเมิน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา มีวินัยในชั้นเรียน ตั้งใจเรียนในเนื้อหาการเขียนแผนการจัดประสบการณ์จนทำให้ตัวเองรู้ว่าเขียนผิดมาตลอด ซึ่งตรงประสบการณ์สำคัญเราสามารถดึงมาจากหลักสูตรได้เลย แต่ตลอดเวลาที่ผ่านมาเราคิดเอง อาจเป็นเพราะเราศึกษาหาข้อมูลมาไม่แน่นพอ หรือตลอดเวลาที่เรียนมาไม่เคยมีใครพูดตรงจุดนี้ แต่อย่างไรก็ตามในเมื่อเรารู้รอยรั่วของตนเองแล้ว ดิฉันก็จะพยายามเขียนแผนการสอนให้ถูกต้องและวิเคราะห์หลักสูตรให้ได้ เพื่อนำมาจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่างมีคุณภาพค่ะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนกับเนื้อหาการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เป็นอย่างมาก เพราะว่าจะต้องนำไปใช้จริงกับเด็กๆแล้ว บรรยากาศมีการซักถามข้อสงสัยของแต่ละคนจนทำให้เพื่อนได้ความรู้เพิ่มเติมค่ะ

ประเมินอาจารย์ : ตลอดเวลาที่เรียนมาถือว่าเป็นครั้งแรกกับการเขียนแผนที่อิงหลักสูตร ขณะการเขียนแผนแล้วเปิดหนังสือไปด้วย และความรู้เพิ่มเติมจากการอธิบายรายละเอียดต่างๆจากอาจารย์ ทำให้นักศึกษารู้และเข้าใจกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ และสามารถนำไปใช้ในการศึกษาขั้นต่อๆไป และที่สำคัญกับการสังเกตการสอน การฝึกสอนค่ะ