วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่ 10 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558



เนื้อหา / กิจกรรม


1.ผลงานจากกระดาษทราย 

อุปกรณ์
  • กระดาษทราย
  • กาว
  • กรรไกร
  • กระดาษหลังภาพ
วิธีทำ
  1. นำกระดาษทรายมาตัดเป็นรูป
  2. ทากาวด้านหลังกระดาษทรายแล้วนำไปติดกับกระดาษหลังภาพ
วิธีการเล่น
นำกระดาษมาทาบด้านบนแล้วนำสีมาฝนภาพให้สวยงาม

2.ผลงานการฝนสี



3.ผลงานแกะสลักสี
อุปกรณ์
  • กระดาษ A4
  • สีเทียน
  • สีชอร์ก
  • ตะปู
วิธีทำ
  1. ระบายสีเทียนลงบนกระดาษหลายๆเรียงกันตามลำดับ
  2. ระบายสีชอร์ก สีดำ ทับบริเวณที่ทาสีเทียนให้ละเอียด
  3. นำตะปูหรืออุปกรณ์ที่ปลายแหลมมาแกะสลักหรือขีดให้เป็นภาพ


4.วาดภาพระบายสี (สีเทียน)
อุปกรณ์

  • กระดาษ A4
  • สีเทียน
วิธีทำ
  1. วาดภาพด้วยสีเทียนลงบนกระดาษและระบายสีตกแต่งตามจินตนาการ



5.ผลงานร่างภาพจากสีเทียนแต่งเติมด้วยสีน้ำ
อุปกรณ์

  • กระดาษ A4
  • สีน้ำ พู่กัน
  • สีเทียน
วิธีทำ
  1. ร่างภาพลงบนกระดาษ
  2. นำสีน้ำทาทับภาพที่ร่างให้เต็มสมบูรณ์


   

6.ผลงานภาพขย่ำ
อุปกรณ์

  • กระดาษ A4
  • สีน้ำ พู่กัน
  • สีเทียน
วิธีทำ
  1. วาดภาพลงบนกระดาษ
  2. ขย่ำภาพให้เป็นรอยทั้งแผ่น
  3. คลี่กระดาษแล้วระบายสีน้ำลงไปทั่วแผ่น


กิจกรรมนี้ทำให้เห็นความแตกต่างของการขย่ำกระดาษ เมื่อขย่ำเสร็จแล้วนำมาระบายสี จะเห็นได้ว่าภาพมีลักษณะคล้ายคลื่นทะเล ทำให้ภาพสมจริงและมีลูกเล่นมากขึ้น

7.งานปั้น
อุปกรณ์

  • ดินเหนียว
  • น้ำสะอาด
วิธีทำ
  1. นำดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปต่างๆ
  2. นำไม้จิ้มฟันมาแกะให้เป็นลวดลาย
ขณะปั้นหากดินแห้ง สามารถนำน้ำผสมให้พอดี


คุณเต่าต้วมเตี้ยม

8.ผลงานผ้าบาติก
อุปกรณ์

  • ผ้าขาว
  • สีเทียน
  • เตารีด
  • กระดาษหนังสือพิมพ์
วิธีทำ
  1. วาดภาพลงบนผ้าขาวและลงสีให้เข้ม
  2. นำผ้าที่วาดเสร็จแล้วมารีด โดยใช้กระดาษหนังสือพิมพ์วางทับบนผ้าก่อน 
  3. รีดไปเรื่อยจนสีทีสะบายซึมลงผ้า แล้วนำผ้ามาผึ่งลม

กิจกรรมนี้เป็นการพิมพ์ภาพจากสีเทียน สามารถประยุกต์การสกีนเสื้อได้ แต่ความคงทนของสีจะน้อย

9.ผลงานสีเทียนร่วมใจ
.ผลงานร่างภาพจากสีเทียนแต่งเติมด้วยสีน้ำ
อุปกรณ์

  • กระดาษ
  • สีเทียน
วิธีทำ
  1. จับสีเทียนประมาณ 3 สี วาดลงบนกระดาษพร้อมกัน ให้เป็นภาพตามจินตนาการ

เมื่อเรานำสีมาวาดพร้อมกัน จะเห็นได้ว่าภาพและลายเส้นมีมิติมากขึ้น

10.ผลงานการฝนพื้นผิวสิ่งรอบตัว
อุปกรณ์

  • กระดาษ
  • สีเทียน
  • วัสดุรอบตัว
วิธีทำ
  1. นำกระดาษวางทับกับวัสดุที่อยู่รอบตัว เช่น ใบไม้ ก้อนหิน ถนน หรือสิ่งที่สามารถฝนได้

  2. นำสีเทียนฝนบริเวณที่กระดาษวางทับ

ภาพนี้ฝนจาก ใบไม้ พื้นถนน แผ่นไม้ /การสร้างภาพชนิดนี้เป็นการสร้างภาพที่เป็นเรื่องราวและสัมพันธ์กัน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. นำผลงานไปจัดกิจกรรมให้กับด็กปฐมวัย
  2. ต่อยอดผลงานโดยการใช้สีจากธรรมชาติ และการทำรูปภาพที่หลากหลาย
  3. การนำสิ่งต่างๆรอบตัวมาสร้างชิ้นงาน
  4. นำรูปแบบผ้าบาติกมาสกีนกระเป๋าหรือสัญลักษณ์ต่างๆ
  5. การสร้างเรื่องราวจากรูปภาพ
  6. การปั้นรูปต่างๆตามหน่วยการเรียนรู้
  7. การจัดทำศิลปะรายเดี่ยวและแบบร่วมมือ


การประเมิน

ประเมินตนเอง : สามารถสร้างชิ้นงานได้สำเร็จ แต่ความละเอียดและความสวยงามยังคงต้องพัฒนาทักษะ และการเรียนวันนี้ได้ลงมือกระทำ ทำให้รู้ถึงกระบวนการสร้างชิ้นงานแต่ละชิ้น สามารถนำมาปรับปรุงให้สวยงามได้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนตั้งใจทำกิจกรรมของตนเอง และร่วมกันทำกิจกรรมรายกลุ่มได้จนสำเร็จ บรรยากาศในห้องเรียนคึกคัก สนุกสนาน ทุกคนเร่งฝีมือทำชิ้นงานให้เสร็จทันเวลา 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ได้นำเทคนิคที่หลากหลายมาถ่ายทอดให้นักศึกษา บางชิ้นงานก็ทำให้เรานึกไม่ถึงว่าสามารถทำแบบนี้ได้ การเรียนในวันนี้เป็นกิจกรรมที่ได้ประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างไม่อายใคร ขอบคุณอาจารย์ที่เต็มที่กับการสอนและการมอบสิ่งดีๆให้นักศึกษา

วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4


บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วันอังคาร,วันพฤหัสดี ที่ 3,5 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2558


เนื้อหา / กิจกรรม

วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะสร้างสรรค์

1.วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว เป็นต้น
วัสดุที่ใช้อาจเป็นวัสดุที่มีขาย วัสดุธรรมชาติ หรือวัสดุในท้องถิ่น ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก ควรหลีกเลี่ยงวัสดึที่เป็นอันตราย เช่น มีปลายแหลม มีสารเคมีตกค้าง หรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก

วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ
กระดาษ กระดาษที่นำมาใช้ควรคำนึงถึงการใช้งานของกิจกรรม ไม่ควรใช้กระดาษที่แพงเกินไป
  • กระดาษวาดเขียน
  • กระดาษโปสเตอร์
  • กระดาษมันปู       มีเนื้อบาง ไม่มีคม เหมาะกับกินกรรม ฉีก ปะ ตัด
  • กระดาษนิตยสาร  เหมาะกับด็กปฐมวัย กระดาษมีความมัน นิ่ม สีสวยงาม /กิจกรรม พับ ตัด  
  • กระดาษหนังสือพิมพ์  เหมาะกับกิจกรรม พับ หรือใช้รองขณะทำกิจกรรม

สี เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย

  • สีเทียน(Caryon) สีเทียนที่ดีควรมีสีสด แท่งโต เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือ
  • สีชอร์กเทียน (Oil pasteal) สีสดใส เนื้อนุ่ม สามารถใช้เล็บหรือกระดาษทิชชูตกแต่ง เหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่า
  • สีเทียนพลาสติก (Plastic caryon) มีสีสดใสหลายสี ระบายง่าย เหลาได้ สามารถใช้ยางลบธรรมดาลบได้ แต่มีราคาแพง
  • สีเมจิก (Water color) สีสว่าง เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น 
  • ปากกาปลายสักหลาด (Felt pen)
  • ดินสอ (Pencil) ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูป สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี เพราะ การแสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป
  • สีจากธรรมชาติ ได้จาก ใบไม้ ดอกไม้ ลำต้น ราก ดิน เป็นต้น

วัสดุในการทำศิลปะ


กาว กาวที่เหมาะสำหรับเด็กมากที่สุดคือกาวกวน กวนจากแป้งข้าวเหนียวหรือแป้งมัน ราคาถูก ใช้ง่าย ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก
ดิน ที่ใช้ทำงานศิลปะ
  • ดินเหนียว
  • ดินน้ำมัน
  • ดินวิทยาศาสตร์
วัสดุอื่นๆ เช่น ฟองน้ำ เชือก ทราย หรือวัสดุเหลือใช้

2.อุปกรณ์ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เป็นสิ่งที่ไม่หมดเปลือง แต่มีอายุการใช้งานยืนยาวตามชนิดหรือคุณภาพของสิ่งนั้นๆ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
  1. สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น
  2. สีเป็นวัสดุที่ได้จากธรรมชาติหรือ มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
  • สีจากธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ ลำต้น ใบไม้ ดิน
  • สีสังเคราะห์ เช่น สีเทียน สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น

ทฤษฎีสี (Theory of colors)
ทฤษฎีสีขั้นที่ 1

ทฤษฎีสีขั้นที่ 2

ทฤษฎีสีขั้นที่ 3

วรรณะสีร้อน และวรรณะสีเย็น

อิทธิพลของสีที่ให้ความรู้สึก
สีเหลือง  ร้อนและเย็น สว่าง เลื่อมใส น่าศรัทธา สดชื่น
สีแดง  ร้อนรุนแรง ตื่นเต้น เร้าใจ
สีเขียว   เย็น เจริญงอกงาม สดชื่น
สีน้ำเงิน  เย็น สงบเงียบ ความมั่นคง ความอุดมสมบูรณ์
สีม่วง  เศร้า ลึกลับ ร้อนและเย็น มีเสน่ห์
สีส้ม  ร้อน รุนแรง ตื่นเต้น
สีน้ำตาล  ความแห้งแล้ง น่าเบื่อหน่าย
สีดำ  เศร้า มืด หนักแน่น น่ากลัว
สีเทา  สงบ สบายใจ เคร่งขรึม
สีขาว   สะอาด บริสุทธิ์ เรียบง่าย สว่าง
สีฟ้า  สว่าง มีชีวิตชีวา
สีชมพู   ร่าเริง สดใส
กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์


ภาพต่อเติมจากรูปครึ่งวงกลม 


ออกแบบลายเส้นที่แตกต่างไม่ซ้ำกัน


ภาพจินตนาการลายเส้น ความวิจิตรงดงามจากความคิด ความชอบ ความรู้สึก ถ่ายทอดออกมาเป็นผลงาน สามารถประยุกต์ร้อยเรียงเรื่องราวเป็นนิทาน หรือการเล่าเรื่องจากภาพได้




ศิลปะลากต่อจุด การใช้ความคิดในการลากจุดให้เป็นโครงร่างของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ภาพที่ออกมาอาจจะไม่เหมือนจริง แต่เมื่อตกแต่งความสดใสเข้าไปผสมภาพก็สื่อความหมายออกมาในตัว ศิลปะลักษณะนี้สอนให้ครูปฐมวัยได้ใช้ความคิดที่หลากหลายในการใช้เส้นสร้างผลงาน

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
  1. การเลือกวัสดุ อุปรณ์ ในการทำงานศิลปะที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการด็ก
  2. การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แบบรายเดี่ยว และแบบร่วมมือ เพื่อให้เด็กเห็นถึงคุณค่าของงานศิลปะที่หลากหลาย
  3. การจัดกรรมและประสบการณ์โดยนำความรู้หรือผลงานไปต่อยอด เช่น การเล่านิทาน แต่งคำคล้องจอง เป็นต้น
การประมินผล
ประเมินตนเอง : มีวินัยในชั้นเรียน เข้าใจเนื้อหาทฤษฎีความรู้ ตั้งใจและมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ผลงานการลากจุด ซึ่งเป็นผลงานที่สามารถทำให้เราได้ใช้ความคิด ความรู้รู้สึกที่หลากหลาย มีความสุขกับการเรียน ภูมิใจกับผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม มีข้อเสนอแนะในชั้นเรียน ตั้งใจทำงานของตนเองอย่างตั้งใจและสนุกสนาน ทำให้บรรยากาศการเรียนมีความสุขไม่เครียด

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้อย่างละเอียด ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียน เช่น การหาสิ่งของ สี กระดาษ เป็นต้น การนำวัสดุ อุปกรณ์ ของจริงมาให้นักษาได้สังเกตและเรียนรู้เป็นการเพิ่มประสบการณ์ที่ดี กิจกรรมในชั้นที่นำมาถ่ายทอดในแต่ละครั้งก็มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้งานได้จริง เทคนิคการเรียนการสอนของอาจารย์สามารถเปลี่ยนทัศนคติในการเรียนศิลปะของดิฉันได้ค่ะ เพราะมีความสุข สนุกสนาน และภาคภูมิใจกับผลงานของตนเองและเพื่อน